9 ขั้นตอนวางระบบอีอาร์พี (ERP) ที่ดีต้องทำอย่างไร
ในการวางระบบบริหารจัดการองค์กรอีอาร์พี (ERP) นอกจากจะต้องการทีมที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในประเภทของกิจการนั้นๆ แล้ว ยังต้องมีขั้นตอนการดำเนินงานตามหลักการที่ถูกต้อง เพื่อผู้ประกอบการสามารถใช้งานระบบอีอาร์พี (ERP) ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด (Click เพื่ออ่าน 5 สิ่งที่ระบบอีอาร์พี (ERP) ทำได้)
โดยขั้นตอนในการวางระบบอีอาร์พี (ERP) ที่ดีผู้ประกอบการควรทำตาม 9 ขั้นตอนดังนี้คือ
- ขั้นตอนการวิเคราะห์ความต้องการเพื่อเลือกอีอาร์พี (ERP) ที่เหมาะสมที่สุดกับองค์กร
- ขั้นตอนการเลือกผู้ให้บริการอีอาร์พี (ERP)
- ขั้นตอนการปรับแต่งอีอาร์พีเพื่อให้เข้ากับองค์กรของคุณ
- ขั้นตอนการซิงค์ข้อมูลเพื่อให้ข้อมูลซิงค์ได้ถูกต้องและเสถียร
- ขั้นตอนการทำความเข้าใจกับบุคลากรในองค์กร
- ขั้นตอนการฝึกอบรมให้กับบุคลากรในองค์กร
- ขั้นตอนเตรียมการก่อนใช้งานจริง
- ขั้นตอนการเริ่มต้นใช้งานระบบอีอาร์พี (ERP) เต็มรูปแบบ
- ขั้นตอนหลังจากใช้งานระบบอีอาร์พี (ERP) เต็มรูปแบบ
เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนมากขึ้นในการวางระบบอีอาร์พี (ERP)
เรามาดูรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนกันว่ามันคืออะไร และในแต่ละขั้นตอนจะทำไปเพื่ออะไร
ซึ่งแต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดดังนี้
- ขั้นตอนการเลือกผู้ให้บริการอีอาร์พี (ERP) ที่เหมาะสมกับองค์กร
ในขั้นตอนนี้ผู้ประกอบการสามารถค้นหาผู้ให้บริการอีอาร์พี (ERP) ซึ่งอาจค้นหาบน google search, งาน Expo จัดโดยหน่วยงานราชการและตามงานแสดงสินค้า
ซึ่งผู้ให้บริการอีอาร์พี (ERP) นิยมที่จะไปออกบูธเพื่อแนะนำบริการแก่ลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการธุรกิจประเภทต่างๆ
โดยผู้ประกอบการอาจเลือกผู้ให้บริการอีอาร์พี (ERP) ไว้เป็นทางเลือกมากกว่า 1 ผู้ให้บริการก็ได้ และสอบถามรายละเอียดต่างๆ ในการให้บริการ เช่น ขนาดของระบบตอบสนองกับขนาดขององค์กรหรือไม่ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นสอดคล้องกับงบประมาณขององค์กรหรือไม่ เป็นต้น
ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการเองควรทราบความต้องการในองค์กรของตนเองด้วยเช่นกัน ว่าต้องการระบบอีอาร์พี (ERP) เข้ามาบริหารจัดการองค์กรของคุณเองอย่างไร
โดยสรุปขั้นตอนการเลือกผู้ให้บริการอีอาร์พี (ERP) ที่เหมาะสมกับองค์กร คือการค้นหาผู้ให้บริการอีอาร์พี (ERP) ที่คุณสนใจ และสอบถามรายละเอียดการให้บริการให้ตรงกันกับความต้องการขององค์กรคุณเอง
- ขั้นตอนการเลือกผู้ให้บริการอีอาร์พี (ERP) เมื่อทางผู้ประกอบการมีข้อมูลผู้ให้บริการที่คุณสนใจ และทราบความต้องการของผู้ประกอบการเองแล้ว จากนั้นผู้ประกอบการจะทำการเลือกผู้ให้บริการอีอาร์พีเพื่อทำการนัดหมายประชุม/พูดคุยกับผู้ให้บริการอีอาร์พี (ERP)
ในขั้นตอนนี้ผู้ประกอบการจะมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจเพิ่มมากขึ้น เพราะสามารถสอบถามถึงกระบวนการทำงานต่าง ๆ ในการวางระบบอีอาร์พี (ERP) รวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตั้งแต่ เริ่มต้นวางระบบไปจนถึงกระบวนการสุดท้ายคือผู้ประกอบการต้องสามารถปิดงบดุลได้
โดยในส่วนนี้ผู้ประกอบการอาจทำการเปรียบเทียบราคาผู้ให้บริการอีอาร์พีแต่ละราย รวมถึงรายละเอียดในการดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อให้ได้ราคาที่เหมาะสม และเพื่อให้ได้ระบบอีอาร์พี (ERP) ที่สามารถบริหารจัดการองค์กรได้ตรงตามที่คุณต้องการ
โดยสรุปขั้นตอนการเลือกผู้ให้บริการอีอาร์พี (ERP) คือ ให้ผู้ประกอบการทำการนัดหมายเพื่อประชุม/พูดคุยกับผู้ให้บริการอีอาร์พี (ERP) สอบถามค่าใช้จ่ายและรายละเอียดในการดำเนินงานต่าง ๆ จากนั้นจึงเลือกผู้ให้บริการที่ตอบโจทย์สำหรับกิจการของคุณ ทั้งในเรื่องค่าใช้จ่ายและรูปแบบของระบบอีอาร์พี
- ขั้นตอนการปรับแต่งอีอาร์พีเพื่อให้เข้ากับกิจการของคุณ
ในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องการรายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงในกิจการของคุณ เพื่อทำการ customize ให้ระบบอีอาร์พี (ERP) เข้าไปบริหารจัดการองค์กรของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ในขั้นตอนนี้ทางผู้ให้บริการอีอาร์พี (ERP) จะมีทีมที่ปรึกษาเข้าไปวิเคราะห์กระบวนการทำงานขององค์กรโดยละเอียด เพื่อให้ได้ Flow ในการทำงานที่เป็นระบบและเป็นระเบียบ ซึ่ง Flow ในการทำงานนี้จะเป็นรายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงสำหรับองค์กรคุณเอง (Click เพื่ออ่าน การปรับแต่งระบบอีอาร์พีเพื่อให้เข้ากับการใช้งานขององค์กร)
หลังจากนั้นทางทีมที่ปรึกษาจะนำ Flow ที่ได้มาปรับแต่งให้ได้ระบบอีอาร์พี (ERP) ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการเข้าไปบริหารจัดการองค์กรของคุณ
โดยสรุปขั้นตอนการปรับแต่งอีอาร์พีเพื่อให้เข้ากับกิจการของคุณคือ การวิเคราะห์หา Flow ในการทำงาน เพื่อทำการปรับแต่งให้ได้อีอาร์พี (ERP) ที่จะเข้าไปเป็นระบบริหารจัดการองค์กรของคุณ
- ขั้นตอนการซิงค์ข้อมูลเพื่อให้ข้อมูลซิงค์ได้ถูกต้องและเสถียร
ในขั้นตอนนี้คือ การอัพเดตข้อมูลจากระบบอื่นๆ ที่องค์ของคุณใช้อยู่ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาเข้าสู่ระบบอีอาร์พี (ERP) ในการซิงค์ข้อมูลนี้ต้องคำนึงถึงการรักษาความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลเสมอ นอกจากนี้ยังควรมีการตรวจสอบและทดสอบการซิงค์เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลถูกนำเข้าอย่างถูกต้อง ไม่เกิดปัญหาในกระบวนการ
ในส่วนของการซิงค์ข้อมูลอาจใช้โปรแกรมสำหรับการซิงค์ข้อมูล ควรดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญระบบอีอาร์พี (ERP) โดยเฉพาะ ซึ่งก็คือทีมงานผู้ให้บริการอีอาร์พี (ERP) ที่ผู้ประกอบการเลือกนั่นเอง
โดยสรุปขั้นตอนการซิงค์ข้อมูลเพื่อให้ข้อมูลซิงค์ได้ถูกต้องมีความเสถียรและสามารถนำข้อมูลขององค์กรเข้าสู่ระบบอีอาร์พี (ERP) ได้ ควรดำเนินงานโดยผู้เชี่ยวชาญระบบอีอาร์พี (ERP) โดยเฉพาะ
- ขั้นตอนการทำความเข้าใจกับบุคลากรในองค์กร
ในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ค่อนข้างมีความอ่อนไหว เนื่องจากในแต่ละองค์กรก่อนหน้าที่จะเปลี่ยนมาใช้ระบบอีอาร์พี ( ERP) ในการบริหารจัดการองค์กร มักจะมีรูปแบบการดำเนินงานที่ทำกันมาอย่างยาวนาน ในบางรูปแบบอาจกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรซึ่งยากในการเปลี่ยนแปลง
การใช้ระบบอีอาร์พี (ERP) เข้ามาบริหารจัดการองค์กร อาจทำให้พนักงานบางส่วนเกิดความกังวลในการปรับตัวจากรูปแบบการทำงานที่เคยชินและสามารถทำได้อย่างคล่องตัว มาเป็นการทำงานในอีกรูปแบบที่แตกต่างกัน อีกทั้งพนักงานอาจยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการใช้ระบบอีอาร์พี (ERP) มาก่อน
ดังนั้นการสื่อสารและทำความเข้าใจกับพนักงานในองค์กรถึงความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น จึงมีความจำเป็นและควรทำ เพื่อให้พนักงานได้เห็นแนวทางการทำงานในอนาคตที่ชัดเจน และเป็นขวัญกำลังใจที่ดีสำหรับบุคคลากรในองค์กรอีกด้วย
โดยสรุปขั้นตอนการทำความเข้าใจกับบุคลากรในองค์กรที่จะเริ่มใช้ระบบอีอาร์พี (ERP) เข้ามาบริหารจัดการในองค์กร คือควรสื่อสารและทำความเข้าใจให้พนักงานได้เห็นแนวทางที่ชัดเจนสำหรับระบบการทำงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (Click เพื่ออ่าน 5 สิ่งต้องทำเมื่อพนักงานในองค์กรยังไม่เคยใช้ระบบอีอาร์พี (ERP))
- ขั้นตอนการฝึกอบรมให้กับบุคลากรในองค์กร
ในขั้นตอนการฝึกอบรมให้กับบุคลากรในองค์กรจะเป็นการร่วมมือของทั้งผู้ให้บริการอีอาร์พี (ERP) และผู้รับบริการซึ่งก็คือผู้ประกอบการนั่นเอง
โดยผู้ประกอบการต้องทำการนัดหมายวันและเวลาในการฝึกอบรมกับทางผู้ให้บริการอีอาร์พี (ERP) จากนั้นผู้ให้บริการอีอาร์พี (ERP) จะส่งทีมที่ปรึกษาในการวางระบบอีอาร์พี (ERP) และ Cusotmer Support เข้าไปอบรมการใช้งานระบบอีอาร์พี (ERP)
ทีมที่ปรึกษาในการวางระบบอีอาร์พี (ERP) จะสอนวิธีการเข้าระบบและการเข้าใช้งานในโมดูลต่างๆ ซึ่งผู้เข้าอบรม
จะเป็นพนักงานในแผนก/ส่วนต่าง ๆ ขององค์กร ที่ต้องเข้าใช้งานในระบบอีอาร์พี (ERP) ให้สามารถเข้าใช้งาน บันทึกข้อมูล สั่งประมวลผล เรียกดูข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงการใช้งานอื่น ๆ ของระบบได้
เมื่อทำการอบรมเสร็จแล้ว หากเกิดปัญหาติดขัดในการใช้งาน ผู้ให้บริการอีอาร์พี (ERP) จะมีทีม Customer support คอยรับทราบปัญหาต่าง ๆ อาทิเช่น ระบบเกิดการหน่วง, เรียกดูข้อมูลไม่ได้ เป็นต้น
ซึ่งแนวทางในการแก้ไขจะขึ้นอยู่กับรายละเอียดของปัญหาที่เกิดขึ้น บางปัญหาทีม Customer Support สามารถให้คำแนะนำได้เลย บางปัญหาอาจต้องรอให้ทีมงานโปรแกรมเมอร์เข้าตรวจสอบแก้ไข เป็นต้น
โดยสรุปขั้นตอนการฝึกอบรมให้กับบุคลากรในองค์กรคือ ทางผู้ให้บริการมีการส่งที่ปรึกษาในการวางระบบอีอาร์พี (ERP) มาสอนวิธีการเข้าระบบและการเข้าใช้งานในโมดูลต่าง ๆ ให้กับพนักงานขององค์กร และเมื่อใช้งานจริงหากเกิดปัญหาจะมีทีม Customer Support รวมถึงโปรแกรมเมอร์คอยวิเคราะห์แก้ไขปัญหาต่าง ๆ
- ขั้นตอนเตรียมการก่อนใช้งานจริง
ก่อนที่จะใช้งานระบบอีอาร์พี (ERP) จริง จะต้องมีขั้นตอนที่ผู้ใช้บริการยังคงใช้ระบบเดิมในองค์กรคู่ขนานไปกับระบบอีอาร์พี (ERP) จนกระทั่งเมื่อลูกค้าสามารถใช้งานระบบอีอาร์พี (ERP)ได้อย่างราบรื่นแล้ว ผู้ให้บริการอีอาร์พี (ERP) จะทำการ GO Liveและเมื่อ Go Live เรียบร้อยแล้วจึงจะเรียกได้ว่าองค์กรของคุณได้ทำการใช้งานระบบ
อีอาร์พี (ERP) ร้อยเปอร์เซ็นต์
โดยสรุปขั้นตอนเตรียมการก่อนใช้งานจริง คือก่อนจะใช้งานระบอีอาร์พี (ERP) จะต้องมีขั้นตอนการใช้งานคู่ขนานกับระบบเดิมขององค์กร จนกระทั่งผู้ให้บริการอีอาร์พี (ERP) ได้ทำการ Go Live
- ขั้นตอนการเริ่มต้นใช้งานระบบอีอาร์พี (ERP) เต็มรูปแบบ
เมื่อองค์กรได้เริ่มใช้งานระบบอีอาร์พี (ERP) เต็มรูปแบบ อาจมีการพบปัญหาในระหว่างการใช้งานเช่น การรันระบบไม่ผ่าน, การหน่วงเวลาในการดึงข้อมูลในระบบ หรือปัญหาอื่น ๆ
ปัญหาระหว่างทางที่เกิดขึ้นอาจมาจากทางผู้ใช้งานเอง หรืออาจมาจากตัวระบบอีอาร์พี (ERP) ซึ่งทางผู้ให้บริการอีอาร์พี (ERP) จะมีทีม Customer Support ที่คอยให้ความช่วยเหลือหากเกิดปัญหาในการเข้าใช้ระบบ โดยผู้ใช้ระบบสามารถแจ้งปัญหาต่างๆ ให้ผู้ให้บริการอีอาร์พี (ERP) ทราบ ด้วยช่องทางการสื่อสารในการแจ้งปัญหาที่ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันไว้
ค่าใช้จ่ายในส่วนของ Customer Support ตามที่ได้ตกลงกันระหว่างผู้ใช้บริการระบบกับผู้ให้บริการระบบอีอาร์พี (ERP)
โดยสรุปขั้นตอนการเริ่มต้นใช้งานระบบอีอาร์พี (ERP) เต็มรูปแบบ คือในการใช้งานระบบอีอาร์พี (ERP) อาจมีปัญหาระหว่างการใช้งานได้ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถแจ้งปัญหาการใช้งานให้กับผู้ให้บริการอีอาร์พี (ERP) เพื่อทำการแก้ไข ค่าใช้จ่ายจะเป็นไปตามที่ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันไว้
- ขั้นตอนหลังจากใช้งานระบบอีอาร์พี (ERP) เต็มรูปแบบ
หลังจากที่องค์กรได้ใช้งานระบบอีอาร์พี (ERP) อย่างเต็มรูปแบบแล้ว ทางผู้ให้บริการอีอาร์พี (ERP) จะมีการอัพเดทระบบให้กับผู้ใช้งานระบบอย่างสม่ำเสมอเช่น มีการอัพเดทระบบให้ปีละ 1 ครั้ง หรือตามที่ได้ระบุในสัญญาบริการ เป็นต้น
หลังจากเริ่มใช้งานแล้ว หากองค์กรผู้ใช้งานระบบอีอาร์พี (ERP) ต้องการปรับในบางฟังก์ชั่นใช้งาน หรือเพิ่ม Module ต่าง ๆ ก็สามารถแจ้งกับทางผู้ให้บริการอีอาร์พี (ERP) ได้ ซึ่งค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับข้อตกลงและขอบเขตในการให้บริการของผู้ให้บริการอีอาร์พี (ERP) ทางองค์กรของผู้ใช้บริการเองก็สามารถสอบถามและต่อรองกับผู้ให้บริการอีอาร์พี (ERP) ได้เป็นกรณีไป
โดยสรุปขั้นตอนหลังจากใช้งานระบบอีอาร์พี (ERP) เต็มรูปแบบ คือเมื่อองค์กรได้ใช้งานระบบอีอาร์พี (ERP) อย่างเต็มรูปแบบแล้ว ผู้ให้บริการจะมีการอัพเดทระบบให้กับผู้ใช้งานระบบอย่างสม่ำเสมอ หากผู้ใช้งานต้องการปรับฟังก์ชันการใช้งานนั้นสามารถทำได้ ค่าใช้จ่ายสามารถสอบถามทางผู้ให้บริการอีอาร์พี (ERP) ได้เป็นกรณีไป
สำหรับบทความ 9 ขั้นตอนวางระบบอีอาร์พี (ERP) ที่ดีต้องทำอย่างไร ก็จะเป็นแนวทางสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเตรียมความพร้อมขององค์กรในการเข้าสู่การใช้งานระบบบริหารจัดการองค์กรอีอาร์พี (ERP)
โดยการทำตาม 9 ขั้นตอนนี้ ผู้ประกอบการหรือองค์กรก็จะสามารถจัดจ้างผู้ให้บริการในการวางระบบอีอาร์พี (ERP) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และองค์กรของผู้รับบริการก็สามารถใช้งานระบบได้อย่างราบรื่นนั่นเอง
ต้องการติดต่อนัดเดโม
โทร 02-271-4362 – 3 ,095-294-5693 (คุณเจน)
Line ID: jane-siriwan (คุณเจน)