3 เรื่องนี้ตรวจสอบได้ด้วยระบบอีอาร์พี

3 เรื่องนี้ตรวจสอบได้ด้วยระบบอีอาร์พี

สิ่งที่มีประโยชน์มากสำหรับองค์กรที่ใช้ระบบอีอาร์พีคือ การตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ในระบบ

ซึ่งการตรวจสอบข้อมูลนี้จะช่วยให้ผู้ใช้งานระบบสามารถคงประสิทธิภาพการใช้งานของระบบอีอาร์พีไว้ได้

รวมถึงช่วยรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และควบคุมการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

การตรวจสอบข้อมูลของระบบอีอาร์พีจะสามารถตรวจสอบรายละเอียดต่าง ๆ ได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้

1. ตรวจสอบการบันทึกและการแก้ไขข้อมูลในระบบ

2. ตรวจสอบปริมาณของข้อมูล

3. ตรวจสอบการเข้าถึงข้อมูลในระบบ

ซึ่งรายละเอียดของแต่ละข้อมีดังนี้คือ

1. ตรวจสอบการบันทึกและการแก้ไขข้อมูลในระบบ

ในหัวข้อนี้จะเป็นการตรวจสอบเพื่อดูว่ามีการแก้ไขข้อมูลในระบบหรือไม่

หากมีการแก้ไขข้อมูลผู้ใช้งานระบบก็จะสามารถตรวจสอบได้ว่าใครเป็นผู้เข้าถึงและทำการแก้ไขข้อมูลนี้

ซึ่งการตรวจสอบการแก้ไขข้อมูลในระบบอีอาร์พีนี้เพื่อเป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
ว่าใครคือผู้ทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูล ผู้ทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลทำการเปลี่ยนแปลงเมื่อไหร่ และข้อมูลที่ถูกเปลี่ยนแปลงนั้นเปลี่ยนแปลงอย่างไร

2. ตรวจสอบปริมาณของข้อมูล

การตรวจสอบปริมาณของข้อมูลรวมถึงการตรวจสอบปริมาณ transaction ในระบบ จะช่วยคงประสิทธิภาพการใช้งานระบบอีอาร์พีได้เป็นอย่างดี

ยกตัวอย่างเช่น การตรวจสอบปริมาณ transaction ของข้อมูลในช่วงเวลา 9:00 น. – 10:00 น. ของวันนี้เปรียบเทียบกับเมื่อวานนี้ เพื่อดูว่าความเร็วของระบบอีอาร์พีในวันนี้ดำเนินไปอย่างเป็นปกติหรือช้ากว่าปกติ

การตรวจสอบสามารถทำได้โดย หากตรวจสอบปริมาณ transaction ในระบบ ช่วงเวลา 9:00 น. – 10:00 น. วันนี้แล้วเปรียบเทียบปริมาณ transaction ในระบบกับช่วงเวลา 9:00 น. – 10:00 น. เมื่อวานนี้โดยที่พนักงานทำ transaction ในปริมาณเท่าเดิม

หากพบว่าปริมาณ transaction ในสองวันนี้เกิดขึ้นใกล้เคียงกันอาจแปลความหมายได้ว่าความเร็วของระบบดำเนินไปอย่างเป็นปกติ

แต่ถ้าเปรียบเทียบปริมาณ transaction ของวันนี้และเมื่อวานนี้ในช่วงเวลาเดียวกันแล้ว

ผลปรากฏว่า transaction ของวันนี้เกิดขึ้นได้น้อยกว่าเมื่อวานนี้อย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่พนักงานต้องการทำ transaction ในปริมาณเท่าเดิมเหมือนเมื่อวาน

ก็มีความเป็นไปได้ว่าระบบอีอาร์พีในวันนี้หน่วงและทำงานช้ากว่าปกติ ซึ่งก็ต้องตรวจสอบในเชิงลึกต่อไปว่าความหน่วงที่เกิดขึ้นเกิดจากสาเหตุใดแล้วทำการแก้ไขที่สาเหตุนั้น เป็นต้น

3. ตรวจสอบการเข้าถึงข้อมูลในระบบ

การจัดการสิทธิ์การเข้าถึงและการอนุญาตให้แก่ผู้ใช้งานระบบอีอาร์พี จะสามารถทำได้โดยระบบอีอาร์พีจะมีการบันทึกข้อมูลการเข้าถึงและกิจกรรมสิทธิ์เพื่อตรวจสอบและติดตาม

อีกทั้งผู้ใช้งานสามารถทดสอบการเข้าถึงโดยวิธีทดสอบคือ

ใช้ผู้ทดสอบที่ไม่มีสิทธิ์เข้าใช้งานระบบอีอาร์พี ให้ทดลองเข้าใช้งานระบบว่าสามารถเข้าใช้งานระบบได้หรือไม่ เพื่อตรวจสอบว่าระบบได้ปฏิบัติตามนโยบายที่องค์กรกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงไว้อย่างเคร่งครัดหรือไม่

โดยการให้สิทธิ์เข้าถึงข้อมูลนี้ควรจะเป็นการให้สิทธิ์ตามที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการให้สิทธิ์เข้าใช้งานระบบที่มากเกินไป

กล่าวโดยสรุป ในการตรวจสอบการใช้งานระบบอีอาร์พีในส่วนของการตรวจสอบการบันทึกและการแก้ไขข้อมูลในระบบ, ตรวจสอบปริมาณของข้อมูล และตรวจสอบการเข้าถึงข้อมูลในระบบ ที่ได้กล่าวมา

จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อองค์กรที่ใช้งานระบบอีอาร์พี เพื่อคงประสิทธิภาพของระบบและให้องค์กรสามารถใช้งานระบบอีอาร์พีเพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์สูงสุดนั่นเอง

ต้องการติดต่อนัดเดโม

โทร 02-271-4362 – 3 ,095-294-5693 (คุณเจน)

Line ID: jane-siriwan (คุณเจน)

Scroll to Top