3 เหตุผล ที่ธุรกิจซื้อมาขายไปควรมีระบบอีอาร์พี (ERP)
ธุรกิจซื้อมาขายไป คือ การที่เจ้าของร้านหรือเจ้าของธุรกิจทำการสั่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิตหรือตัวแทนรายใหญ่เพื่อมาจำหน่าย
ธุรกิจซื้อมาขายไปคือองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นคนกลาง จะไม่ใช่ร้านค้ารายย่อยที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป แต่จะเป็นระดับขายส่งขึ้นไป
ยกตัวอย่างเช่น ห้างสรรพสินค้า ที่มีหลายสาขาทั่วประเทศ ธุรกิจนำเข้าวัตถุดิบอาหารหรือชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ รวมไปถึงประเภทร้านค้าออนไลน์ที่มักจะรับสินค้าจากโรงงานมาจำหน่ายเพื่อแข่งกันตัดราคาสินค้า
สำหรับธุรกิจซื้อมาขายไปยิ่งยอดขายเยอะมากเท่าไหร่ ความยุ่งยากในการบริหารก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
บางองค์กรขายดีจนเจ๊งก็มีให้พบเห็นกันไม่น้อย จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้มีระบบบริหารจัดการองค์กร หรือที่ทุกคนรู้จักกันในชื่อของ “ระบบอีอาร์พี (ERP)” เข้ามาบริหารการทำงานหลังบ้านให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
บทความนี้จะกล่าวถึง 3 เหตุผล ที่ธุรกิจซื้อมาขายไปควรมีระบบอีอาร์พี (ERP)
ซึ่งจะมี 3 หัวข้อที่จะกล่าวถึงดังต่อไปนี้
1. เหตุผลเรื่องการเรียกข้อมูลรายงานแบบเรียลไทม์
2. เหตุผลเรื่องปัญหาการจัดการสินค้าคงคลัง
3. เหตุผลเรื่องการบริหารกำไร-ขาดทุน
โดยมีรายละเอียดแต่ละหัวข้อดังต่อไปนี้
1.เหตุผลเรื่องการเรียกข้อมูลรายงานแบบเรียลไทม์
ในอดีตเมื่อย้อนกลับไปสักช่วง 20-30 ปีที่แล้ว การทำธุรกิจก็คงจะใช้นิยามคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” ที่หมายถึงคนที่มีทุนก็มักจะได้เปรียบ หรือคนที่ทำก่อนก็จะประสบความสำเร็จในธุรกิจได้มากกว่า
แต่ในปัจจุบันการทำธุรกิจเริ่มเปลี่ยนไปทุกอย่างล้วนแข่งขันกันด้วยข้อมูล
หากใครสามารถหาข้อมูลได้แม่นยำ และรวดเร็วมากกว่า ก็มักจะได้เปรียบคู่แข่งอย่างเห็นได้ชัด
ธุรกิจซื้อมาขายไปส่วนใหญ่ย่อมต้องแข่งขันกันในเรื่องราคา และการที่จะได้ราคาสินค้าดี ๆ ก็มาจากการหาผู้ผลิตหรือตัวแทนรายใหญ่ที่มากพอ
ซึ่งหากไม่มีระบบอีอาร์พี (ERP) ก็ไม่พ้นต้องใช้วิธีแมนนวล(การกรอกข้อมูลด้วยมือ) ในการบันทึกข้อมูลของเวนเดอร์ (ผู้ขายสินค้า)
และเวลาจะทำราคาให้กับลูกค้าก็จะยิ่งล่าช้า เพราะกว่าจะคำนวณสินค้าของแต่ละเวนเดอร์เพื่อดูราคาที่ดีที่สุดและเสนอให้กับลูกค้าก็อาจจะไม่ทันคู่แข่งได้
เพราะฉะนั้นการมีระบบอีอาร์พีก็จะช่วยให้การเรียกข้อมูลและรายงานการขายรวมไปถึงรายงานในส่วนอื่นๆ ง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีความแม่นยำกว่าระบบแมนนวล
จึงกล่าวได้ว่า การทำธุรกิจในปัจจุบันนี้เป็นยุคของ “ปลาเร็วกินปลาช้า” ข้อมูลของใครเร็วกว่าก็มักจะได้เปรียบคู่แข่ง (Click เพื่ออ่าน 9 เหตุผลทำไมต้องวางระบบอีอาร์พี)
2. เหตุผลเรื่องปัญหาการจัดการสินค้าคงคลัง
ที่มาของคำว่า “ขายดีจนเจ๊ง” ก็มักจะมาจากองค์กรที่บริหารจัดการสต๊อกได้ไม่ดี ส่งผลให้มีสต๊อกเกิน หากปล่อยเวลาไว้นาน ๆ ไม่แก้ไข ก็จะทำให้ขาดทุนอย่างต่อเนื่อง
คำว่าสต๊อกเกิน อธิบายก็คือ บริษัทมีต้นทุนในคลังสินค้า มากกว่ายอดขายหลายเท่า ส่งผลให้บางองค์กรมียอดขายสูง แต่กำไรกลับเหลือน้อยกว่าความเป็นจริง
ส่วนหนึ่งก็มาจากการจัดสต๊อกสินค้าที่ไม่ดี การเก็บที่ไม่เป็นระบบ ของเก่าก็ยังไม่ได้ขายแต่ก็เอาของใหม่เข้ามาแทน
ยิ่งไม่มีระบบอีอาร์พี (ERP) เข้ามาบริหารจัดการสต๊อก ก็ยิ่งทำให้การเรียกดูสินค้าคงคลังไม่เรียลไทม์ ส่งผลกระทบกับธุรกิจในหลาย ๆ
“การบริหารต้นทุนที่ไม่สามารถควบคุมได้”
ซึ่งธุรกิจซื้อมาขายไปมักจะมีการสั่งสินค้า (Inventory) เข้าออกตลอดเวลาตามยอดขายของบริษัท
หากการจัดการสินค้าคงคลังไม่เป็นระบบ ต่อให้มีระบบอีอาร์พี (ERP) ที่ดี และมีประสิทธิภาพมากแค่ไหนก็ไม่อาจแก้ไขปัญหาสต๊อกเกินได้ จำเป็นต้องมีการจัดระเบียบคลังสินค้าให้มีระบบมากยิ่งขึ้น
3. เหตุผลเรื่องการบริหารกำไร-ขาดทุน
การบริหารเรื่องกำไร-ขาดทุน จะไม่ใช่แค่การซื้อขายและดูจากกำไรที่ได้
แต่ในงานบริหารจะมีต้นทุนแฝงหลายอย่าง ทั้งค่าจ้างพนักงาน ค่าขนส่ง ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นภายในองค์กร เป็นต้น
จากเนื้อหาที่ผู้เขียนได้กล่าวมาข้างต้น หลายท่านคงคิดว่าใช้แค่ระบบบัญชีก็สามารถช่วยบริหารองค์กรได้อย่างดีแล้ว แต่ข้อมูลบัญชีอาจจะไม่สามารถวิเคราะห์เรื่องต้นทุน จนไปสู่การลดต้นทุน-เพิ่มกำไร ให้มีประสิทธิภาพได้
จำเป็นต้องมีระบบอีอาร์พี (ERP) เข้ามาช่วยบริหารจัดการให้ครอบคลุม
ตั้งแต่แผนกขาย จัดซื้อ คลังสินค้า และแผนกบัญชี โดยสามารถเชืื่อมโยงข้อมูลทั้งหมดเข้าด้วยกัน ทำให้บัญชีสามารถปิดงบได้รวดเร็ว และแม่นยำ เพราะข้อมูลอยู่ในระบบเดียวกัน
อีกทั้งทางผู้บริหารสามารถเรียกรายงานมาวิเคราะห์ได้ทันที เพื่อดูผลประกอบการ และวิเคราะห์เกี่ยวกับธุรกิจได้จากข้อมูลในระบบอีอาร์พี (ERP)
จากบทความที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าทั้ง 3 เหตุผล ที่ธุรกิจซื้อมาขายไปควรมีระบบอีอาร์พี (ERP) ได้แก่ เหตุผลเรื่องการเรียกข้อมูลรายงานแบบเรียลไทม์, เหตุผลเรื่องปัญหาการจัดการสินค้าคงคลัง และเหตุผลเรื่องการบริหารกำไร-ขาดทุน ล้วนจำเป็นต้องมีระบบอีอาร์พี (ERP) เข้ามาบริหารจัดการทั้งสิ้น
เพราะระบบอีอาร์พี (ERP) คือเครื่องมือที่สำคัญของทุกองค์กร
ยิ่งระบบอีอาร์พี (ERP) ของผู้ให้บริการเจ้าไหนมีครบทุกฟังก์ชันของการทำงาน และสามารถเชื่อมโยงหากันได้ในทุกหน่วยงานขององค์กร ยิ่งส่งผลดีกับผู้บริหาร
เพราะจะสามารถวิเคราะห์ภาพรวมของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำพาองค์กรไปสู่การเติบโตในวันข้างหน้า
หากท่านใดกำลังมองหาระบบอีอาร์พี (ERP) ที่มีประสิทธิภาพสูง และครอบคลุมทุกฟังก์ชันการทำงาน สามารถตัดสต๊อกและเรียกรายงานได้แบบเรียลไทม์ แนะนำ ระบบ PlanetOne ERP ที่พัฒนาโดยคนไทย หากสนใจสามารถเข้าดู Package ได้ที่นี่