5 แนวทาง บริหารงานบุคคลอย่างยั่งยืนด้วยระบบอีอาร์พี (ERP)
บุคลากรคือทรัพยากรที่ขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวเดินไปข้างหน้า ดังนั้นหากต้องการให้องค์กรเติบโตไปอย่างมั่นคงและยั่งยืน องค์กรควรให้ความสำคัญกับการบริหารงานบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพด้วยเช่นกัน
อันที่จริงบุคคลากรในองค์กรก็คือมนุษย์ที่ลึก ๆ แล้วก็ยังมีความต้องการตามธรรมชาติ เช่น ต้องการผ่อนคลายจากการทำงาน ต้องการมีกิจกรรมที่สามารถสานสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานในองค์กร เป็นต้น
ดังนั้นการบริหารทรัพยากรบุคคลอาจไม่ได้สามารถจัดการได้ในรูปแบบเดียวกับการบริหารจัดการการเงิน หรือบริหารจัดการการผลิต แต่ถึงกระนั้นองค์กรก็ยังสามารถวางระบบอีอาร์พีเพื่อมาบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ได้เช่นเดียวกัน (Click เพื่ออ่าน ผู้ประกอบการ/องค์กร จะเลือกผู้ให้บริการอีอาร์พี (ERP) อย่างไร)
โดยการวางระบบอีอาร์พีเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล จะวางระบบไปตาม 5 แนวทางดังต่อไปนี้คือ
1. แนวทางการจัดเก็บข้อมูลบุคคลากรขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
2. แนวทางการให้สิทธิ์เข้าถึงข้อมูลบุคคลากรขององค์กรอย่างเข้มงวด
3. แนวทางการวางแผนรายละเอียดในการจ้างงานและการเลิกจ้าง
4. แนวทางการจัดหาบุคลากรที่เหมาะสมกับตำแหน่งงาน
5. แนวทางการวิเคราะห์ผลงานการทำงานของบุคคลากรในองค์กร
โดยในแต่ละข้อมีรายละเอียดดังนี้คือ
1. แนวทางการจัดเก็บข้อมูลบุคคลากรขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
ในการเก็บข้อมูลของบุคคลากร ระบบอีอาร์พีจะให้ความสำคัญอย่างมากกับการเก็บข้อมูลของพนักงานอย่างปลอดภัย โดยระบบอีอาร์พีจะให้สิทธิ์เฉพาะบุคคลที่สามารถเข้าถึงข้อมูลนี้ได้ นอกจากนี้แล้ว ระบบอีอาร์พีจะทำการสำรองข้อมูลเป็นระยะเพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล (Click เพื่ออ่าน การควบคุมการเข้าถึงข้อมูลด้วยระบบอีอาร์พี)
2. แนวทางการให้สิทธิ์เข้าถึงข้อมูลบุคคลากรขององค์กรอย่างเข้มงวด
ระบบอีอาร์พีจะทำการเข้ารหัสข้อมูล กำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของพนักงานโดยไม่ได้รับอนุญาต รวมทั้งตรวจสอบหากมีการเข้าถึงข้อมูลของพนักงานอย่างผิดปกติ
3. แนวทางการวางแผนรายละเอียดในการจ้างงานและการเลิกจ้าง
ระบบอีอาร์พีสามารถช่วยในการวางแผนและกำหนดตำแหน่งงานที่จำเป็นต้องมีการว่าจ้างในองค์กร รวมถึงระบบอีอาร์พีสามารถสร้างเอกสารและสัญญาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงาน ด้วยเช่นกัน (Click เพื่ออ่าน 5 แนวทาง บริหารงานบุคคลอย่างยั่งยืนด้วยระบบอีอาร์พี (ERP))
4. แนวทางการจัดหาบุคลากรที่เหมาะสมกับตำแหน่งงาน
ระบบอีอาร์พียังสามารถช่วยตรวจสอบคุณสมบัติความเข้ากันได้ของผู้สมัครกับตำแหน่งงานที่ประกาศรับในองค์กร เพื่อให้ได้ผู้สมัครที่มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการขององค์กรมากที่สุด
5. แนวทางการวิเคราะห์ผลงานการทำงานของบุคคลากรในองค์กร
ระบบอีอาร์พีสามารถช่วยประเมินผลงาน และสามารถประเมินได้ว่าประสิทธิภาพของพนักงานที่ถูกจ้าง ทั้งในระหว่างระยะเวลาทดลองงานและหลังจากเข้าทำงาน พนักงานทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพหรือไม่ ซึ่งระบบอีอาร์พีจะช่วยในการประเมินผลงานที่ทำให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาทั้งในระดับบุคคลและในระดับองค์กร
โดยสรุป ระบบอีอาร์พีสามารถช่วยในการบริหารจัดการองค์กรได้ในหลาย ๆ ส่วน ตั้งแต่การบันทึกข้อมูลส่วนตัวของพนักงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเข้มงวดกับการเข้าถึงข้อมูล นอกจากนี้ระบบอีอาร์พียังช่วยในการสรรหาบุคลากรที่มีทักษะจำเป็นต่องานในองค์กรรวมถึงประเมินผลประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในองค์กร เพื่อนำไปสู่การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน