หากให้พูดถึงการเปลี่ยนระบบอีอาร์พี ERP ก็มักจะไม่บ่อยนักที่ผู้ประกอบจะทำการเปลี่ยนระบบใหม่ “เพราะการเปลี่ยนระบบใหม่ก็ไม่ต่างอะไรจากการย้ายบ้าน” สิ่งที่ต้องเจอคือความยุ่งยากในการเริ่มต้นใหม่และความเหน็ดเหนื่อยในการเตรียมข้อมูลเพื่อใช้ในการขึ้นระบบ
ซึ่งสาเหตุหลักๆที่พบได้ส่วนใหญ่มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
1. ระบบอีอาร์พีไม่สามารถปรับได้ทันกับความเปลี่ยนแปลงขององค์กร
ไม่ว่าจะธุรกิจประเภทอะไรก็ตาม ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัย เปลี่ยนไปตามนโยบายหรือข้อกฏหมายต่างๆ
แต่หากระบบอีอาร์พี (ERP) ที่ใช้ในปัจจุบัน ไม่สามารถก้าวตามทันความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุ
ที่ทำให้ผู้ประกอบการเลือกที่จะเปลี่ยนระบบใหม่ที่สามารถพัฒนาเพื่อให้ทันต่อความต้องการขององค์กรได้
2. ความสามารถในการปรับแต่ง (Customization)
เป็นเรื่องปกติมาก ๆ ที่หลาย ๆ ธุรกิจ จะทำการปรับเปลี่ยนระบบการทำงานให้สอดคล้องกับองค์กรให้มากที่สุด แต่ถ้าระบบอีอาร์พีที่ใช้ในปัจจุบัน
ไม่สามารถปรับแต่งหน้าตาการทำงานหรือวิธีการให้สอดคล้องกับมาตรฐานขององค์กรได้
ก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ตัดสินใจเปลี่ยนระบบการทำงานใหม่
3. การลดค่าใช้จ่าย
มีหลายองค์กรที่ใช้ระบบอีอาร์พี (ERP) เจ้าดังระดับโลกและเลิกการใช้งานเพราะไปต่อกับค่าใช้จ่ายในราคาที่ค่อนข้างสูงไม่ไหว
และเริ่มมองหาระบบอีอาร์พีเจ้าเล็กๆ เพื่อลดค่าใช้จ่ายลง หรืออาจแค่อยากประหยัดค่าใช้จ่ายตรงนี้
เพราะองค์กรก็มีประสบการณ์ในการลงระบบมาบ้างแล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่เปลี่ยนระบบการทำงานใหม่ในปัจจุบันระบบอีอาร์พี (ERP)
ที่พัฒนาขึ้นโดยคนไทยก็มีให้เห็นเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีราคาถูกกว่าแต่ระบบการทำงานเทียบเท่ากับเจ้าดังๆ ก็มีให้เห็นได้ไม่น้อย
4. ต้องการเชื่อมโยงข้อมูลได้ทั้งองค์กร
หลายองค์กรชอบเข้าใจผิดว่าระบบที่ใช้ในปัจจุบันเป็นระบบอีอาร์พี (ERP) แต่การทำงานของระบบอีอาร์พี (ERP) จะมีขั้นตอนที่เป็นมาตรฐานระดับสากล กล่าวคือ
ทั้งระบบต้องเชื่อมโยงถึงกัน โดยไม่แยกข้อมูลในการทำงาน
เช่น ฝั่งขายจะส่งข้อมูลไปที่คลังเพื่อตัดสต็อกแบบเรียลไทม์ และคลังเชื่อมข้อมูลไปที่จัดซื้อและฝั่งผลิต เพื่อทำการผลิตหรือสั่งสินค้าตามออเดอร์ที่ขาด
เพราะฉะนั้นหากองค์กรของท่านยังแยกระบบการทำงานอยู่ ก็มีแต่จะทำให้เกิดผลเสียที่ตามมาเช่น
ข้อมูลการทำงานอาจไม่ถูกต้อง เพิ่มงานและยังเสียเวลา อาจะเกิดข้อผิดพลาดและสร้างความเสียหายให้กับธุรกิจได้
พราะฉะนั้นหากธุรกิจของท่านยังแยกระบบการทำงาน ผู้เขียนแนะนำว่าให้หาระบบใหม่ที่รองรับการทำงานได้ทุกแผนกเพื่อส่งผลให้การวิเคราะห์ข้อมูลในธุรกิจมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5. การปรับปรุงคุณภาพข้อมูล
ถึงจะเป็นระบบอีอาร์พี (ERP) เหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้พัฒนาระบบอีอาร์พี (ERP) ทุกเจ้า จะมีข้อดีข้อเสียที่เหมือนกัน ยิ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับข้อมูลแล้วยิ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ เพราะหากระบบอีอาร์พี (ERP) ไม่สามารถเรียกรายงานได้แบบเรียลไทม์ และสามารถกำหนดข้อมูลที่ปรากฏบนหน้ารายงานได้อยางมีประสิทธิภาพ ก็ส่งผลให้องค์กรเลือกที่จะหาระบบใหม่ มาแทนที่ระบบที่ใช้ปัจจุบัน
6. การปรับตัวกับเทคโนโลยีใหม่
ระบบอีอาร์พี (ERP) ก็มีการพัฒนาไม่ต่างไปจากพวกระบบปฏิบัติการอื่นๆ ซึ่งก็มีเทรนด์การทำงานใหม่ๆ เกิดขึ้นในทุกปี
จึงเป็นสาเหตุให้องค์กรที่ต้องการเป็นผู้นำธุรกิจในยุคดิจิตอล ตัดสินใจเปลี่ยนระบบใหม่เพื่อให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น เช่น การใช้งาน AI, Machine Learning, หรือ Blockchain
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูลและกระบวนการต่างๆ ในองค์กร
จากบทความที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่า สาเหตุที่องกรณ์ตัดสินใจเปลี่ยนระบบอีอาร์พี (ERP) มีทั้งหมด 6 หัวข้อดังต่อไปนี้ click เพื่ออ่าน 3 เหตุผล ที่องค์กรเปลี่ยนระบบอีอาร์พี ERP
1. ระบบอีอาร์พีไม่สามารถปรับได้ทันกับความเปลี่ยนแปลงขององค์กร
2. ความสามารถในการปรับแต่ง (Customization)
3. การลดค่าใช้จ่าย
4. ต้องการเชื่อมโยงข้อมูลได้ทั้งองค์กร
5. การปรับปรุงคุณภาพข้อมูล
6. การปรับตัวกับเทคโนโลยีใหม่
แต่ไม่ว่าสาเหตุของการเปลี่ยนระบบอีอาร์พี (ERP) จะเป็นอะไร ทางผู้เขียนก็ยังคงสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยติดตั้งระบบอีอาร์พี (ERP )
เพื่อนำมาใช้งานในองค์กร เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างประสิทธิภาพ click เพื่ออ่าน ระบบอีอาร์พีมีการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบอย่างไร
หากต้องการระบบอีอาร์พีที่มีขนาดการทำงานระดับสากล ผ่านการรับรองจากกรมสรรพากร รองรับระบบภาษีของประเทศไทยที่มีความซับซ้อนสูง เข้ามาแวะชม Package ได้ที่นี่
ติดต่อสอบถามเกี่ยวกับระบบ
โทร. 02 271 4362-3 Office
โทร 095 294 5693 คุณเจน (ตำแหน่ง Executive Director)
Line: jane-siriwan